6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก Podcast Por ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana arte de portada

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

De: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
Escúchala gratis

Acerca de esta escucha

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

2024 panya.org
Espiritualidad
Episodios
  • พระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท [6821-6t]
    May 23 2025
    จิตใจของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเต็มไปด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบวชเป็นภิกษุณี เธอได้แสดงความประสงค์ที่จะบวชต่อพระพุทธเจ้าหลายครั้ง ดั่งในพระสูตรที่จะหยิบยกมากล่าวนี้ข้อที่ #51_โคตมีสูตร ว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท ในพระสูตรนี้พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีความปรารถนาที่จะออกบวชโดยได้แสดงไว้ถึง 2 วาระด้วยกัน คือ วาระแรก ที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางทูลขอกับพระพุทธเจ้าด้วยตัวเองถึง 3 รอบแต่ก็โดนปฏิเสธตกหมดทั้ง 3 รอบ และในวาระต่อมาที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี พระนางได้ปลงผม ห่มผ้ากาสายะ และออกเดินทางไปหาพระพุทธเจ้าถึงที่นั่นเพื่อทูลขออุปสมบท และในวาระนี้เองด้วยอุบายของพระอานนท์ในการช่วยเข้าไปกราบทูลขอพระพุทธเจ้า พระนางจึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีแต่ต้องรับ “ครุธรรม 8 ประการ” ไปปฏิบัติ พระนางยินดีที่จะปฏิบัติตามคุรุธรรม 8 ประการ มีอะไรบ้างแม้บวชมานานนับร้อยปีก็ต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้บวชในวันนั้นต้องจำพรรษาอยู่ในวัดที่มีภิกษุต้องไปถามวันอุโบสถและรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือนต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายหลังจำพรรษาแล้ว (ออกตัวให้ติเตียนได้)ต้องประพฤติมานัต (ออกจากกรรม) ในสงฆ์สองฝ่ายเมื่อต้องอาบัติหนักต้องเป็นสิกขมานา 2 ปี ก่อนจึงขออุปสมบทในสงฆ์สองฝ่ายได้ต้องไม่บริภาษด่าว่าภิกษุไม่ว่ากรณีใด ๆจะว่ากล่าวตักเตือนภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้*และในตอนท้ายพระสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงถึงเหตุผลไว้ว่าทำไมถึงไม่ให้สตรีบวชและเหตุที่ต้องบัญญัติคุรุธรรมข้อที่ #52_โอวาทสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี ต่อเนื่องมาจากคุรุธรรมในข้อที่ว่า “ต้องรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน” พระสูตรนี้จึงว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ที่จะสอนภิกษุณีต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างเป็นผู้มีศีล สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิเป็นผู้ทรงจำ จำแนก ปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีเป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่มีโทษ ...
    Más Menos
    56 m
  • คุณสมบัติของอริยวงศ์ [6820-6t]
    May 16 2025

    ข้อที่ #26_กุหสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง ภิกษุที่มีคุณสมบัติ 4 อย่างเหล่านี้ นับว่าห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเจริญงอกงาม คือชอบหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่าอวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น


    ข้อที่ #27_สันตุฏฐิสูตร ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย 4 กล่าวถึง ปัจจัยสี่ที่มีคุณสมบัติ “มีค่าน้อย หาได้ง่าย ไม่มีโทษ” ความเป็นอยู่แบบนี้สบายเหมาะแก่ความเป็นสมณะ เมื่อทำประจำนับว่าเป็นธุดงควัตร สามารถไปไหนก็ได้เหมือนนกมีปีก


    *สันโดษ คือ พอใจตามมีตามได้ แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ สันโดษป้องกันจิตไม่ให้ติดกับดักของความอยาก ให้ตั้งไว้ในอิทธิบาท 4 สามารถมีเป้าหมายได้ ส่วนมักน้อย หมายความว่าไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอะไร


    ข้อที่ #28_อริยวังสสูตร ว่าด้วยอริยวงศ์ กล่าวถึงการเอาปัจจัย 4 เป็นตัวแปรแล้วกล่าวสรรเสริญ ไม่แสวงหาด้วยเหตุอันไม่ควร ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะเหตุความสันโดษนั้น


    ข้อที่ #29_ธัมมปทสูตร ว่าด้วยธรรมบท ธรรมที่ทำให้เป็นอริยวงศ์ คือ ความไม่เพ่งเล็ง ไม่พยาบาท มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ซึ่งก็มาจากข้อภาวนานั่นเอง เป็นเรื่องของทางใจ


    ข้อที่ #30_ปริพพาชกสูตร ว่าด้วยปริพาชก เมื่อมีคุณสมบัติความเป็นอริยวงศ์นั้นจะไม่มีใครคัดค้านได้ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้าง


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    57 m
  • พุทธกิจในตำบลอุรุเวลา [6819-6t]
    May 9 2025
    จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค หมวดว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลาข้อที่ #21_ปฐมอุรุเวลสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๑ เป็นการรำพึงของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ว่า ควรเคารพยำเกรงในสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหรือไม่ เพราะผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงสิ่งใดย่อมเป็นทุกข์ เมื่อใคร่ครวญแล้วไม่พบว่าสมณะใดมีความบริบูรณ์เท่า (ความบริบูรณ์ 4 อย่าง คือ ความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์, สมาธิขันธ์, ปัญญาขันธ์, วิมุตติขันธ์) จึงดำริที่จะเคารพในธรรมที่ตรัสรู้และเคารพในสงฆ์ที่มีคุณอันใหญ่ด้วย (หมู่พระอริยบุคคล) ท้าวสหมบดีพรหมที่คนยกย่องว่าเป็นผู้สร้างก็ยังเคารพธรรมนั้น*ในข้อนี้จะเห็นว่า การเอาเป็นที่เคารพนั้นมีความต่างกับการยึดติดยึดถือ เพราะถ้ายึดถือ ทุกข์จะอยู่ตรงนั้น ทำให้เสียหลักได้ข้อที่ #22_ทุติยอุรุเวลสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๒ พราหมณ์ได้มารุกรานถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ทำไมพระองค์จึงไม่ลุกขึ้นไหว้ ต้อนรับ เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้เป็นผู้ใหญ่” เพราะด้วยความไม่รู้ความเป็นเถระของพราหมณ์ พระพุทธเจ้าตอบพราหมณ์ว่า อย่างไรจึงเรียกว่าเถระ เถระไม่ได้ดูจากอายุเท่านั้น ธรรมที่ทำให้ชื่อว่าเถระมาจาก การมีศีล เป็นพหูสูตร ได้ฌานทั้ง 4 และเป็นอรหันต์*ตรงนี้ทำให้พุทธองค์เห็นว่า ธรรมนี้ยากที่สัตว์โลกจะรู้ตาม จึงขวนขวายน้อย ท้าวสหมบดีพรหมจึงมากล่าวอาราธนาให้แสดงธรรมข้อที่ #23_โลกสูตร ว่าด้วยโลก 4 นัยยะแห่งการเรียกว่า “ตถาคต” คือ 1. รอบรู้เรื่องโลก (ทุกข์) ในนัยยะของอริยสัจ 4 (กิจในอริยสัจ) 2. คำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนปรินิพพานล้วนลงกัน 3. กล่าวอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรกล่าวอย่างนั้น 4. เป็นผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ในโลกข้อที่ #24_กาฬการามสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในกาฬการาม ความเป็นผู้คงที่ (ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม 8 ) ของพระพุทธเจ้านั้นปราณีตมาก ความไม่สำคัญ คือ ไม่สำคัญว่าได้... ว่าไม่ได้... ว่าต้องได้...ว่าเป็นผู้ได้... ไปใน 4 สถานะ (อายตนะภายนอก 6 ) เท่ากับไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามสิ่งที่รู้ คือ สักแต่ว่ารู้ จึงเหนือโลกข้อที่ #25_พรหมจริยสูตร ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ ...
    Más Menos
    56 m
adbl_web_global_use_to_activate_T1_webcro805_stickypopup
Todavía no hay opiniones